วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชประวัติ

          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge) รัฐแมสสาชูเซตต์ (Massachusetts) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถอะ นพศกจุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี) และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาล ซึ่งภายหลังทั้งสองพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กับ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2468 ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรณี 

ในหลวงกับพระคุณธรรมที่มีต่อพสกนิกรไทย



...คุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจนั้น ประการหนึ่ง ได้แก่ การให้ คือ ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน ให้อภัยไม่ถือโทษกัน ให้คำแนะนำตักเตือนที่ดีต่อกัน
  ประการที่สอง ได้แก่ การมีวาจาดี คือ พูดแต่คำสัตย์คำจริงต่อกัน พูดให้กำลังใจกัน พูดแนะนำประโยชน์ให้แก่กันและพูดให้รักใคร่ปรองดองกัน
  ประการที่สาม ได้แก่ การทำประโยชน์แก่กัน คือ ประพฤติตนให้เกิดประโยชน์ เกื้อกูลทั้งแก่กันและกัน และแก่หมู่คณะโดยส่วนรวม
 ประการที่สี่ ได้แก่ การวางตนให้สม่ำเสมออย่างเหมาะสม คือ ไม่ทำตัวให้ดีเด่นเกินกว่าผู้อื่นและไม่ด้อยต่ำทรามไปจากหมู่คณะ หมู่คณะใดมีคุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวกันไว้ดังกล่าว หมู่คณะนั้นย่อมจะมีความเจริญมั่นคง

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช



                 คนรุ่นหลังอย่างพวกเรา อาจคิดว่าพวกเราโชคดีที่ได้เกิดมาบนผืนแผ่นดินไทย
  ที่ ๆ สมบูรณ์กว่าแผ่นดินในอีกหลายประเทศ แต่ถ้าไปถามคนรุ่นคุณปู่ คุณย่าของพวกเรา
พวกท่านก็จะบอกว่าความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินนี้ไม่ได้เกิดจากโชคช่วย
แต่มันมาจากน้ำพักน้ำแรงของบุรุษท่านหนึ่ง บุรุษที่ทำงานหนักมากว่า 61 ปี
เพื่อสิ่ง ๆ เดียว นั้นก็คือความอยู่เย็นเป็นสุขของพวกเราชาวไทยทุกคน

ในหลวงในดวงใจ



พระคือศูนย์รวมดวงใจ            ปกเกล้าเผ่าไทย
ทวยราษฎร์ร่มใต้ใบบุญ
          ทรงพระเมตตาการุญ              โอบเอื้อเจือจุน
บรรเทาทุกข์ปวงประชา
          มหากษัตริย์นักพัฒนา             ทรงยึดปรัชญา
ความพอเพียงเลี้ยงชีพชน
          พออยู่พอกินขจัดจน               พอดีแห่งตน
อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี
          พระดำริโครงการมากมี            รวบรวมทฤษฎี
เพื่อประโยชน์พสกนิกร
          พระเกียรติคุณบวร                  เกริกไกรกำจร
ธ คือร่มโพธิ์ทองผองไทย
          เฉลิมพระชนม์มงคลสมัย         ปวงราษฎร์รวมใจ 
ด้วยความจงรักภักดี
          พรั่งพร้อมน้อมอัญชุลี             ถวายพรพระภูมี 
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี




ความหมายของตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
          อักษรพระปรมาภิไธย ภปร สีเหลืองนวลทอง อันเป็นสีประจำพระชนมวาร ขลิบรอบตัวอักษรด้วยสีทองบนพื้นสีน้ำเงินเจือทอง อันเป็นสีประจำพระราชวงศ์ ล้อมด้วยเพชรอันเป็นเอกแห่งรัตนะหมายว่าเหล่านักปราชญ์ ราชกวีสำคัญ อีกบรรดาช่างอันมีชื่อ พระยาช้างสำคัญ นางงาม เหล่าทแกล้วทหารข้าราชราชบริพาร อันยอดฝีมือในการปฏิบัติราชการอย่างสุจริตยิ่ง เหล่านี้เปรียบด้วยเพชรอันชื่อว่ารัตนะ แวดล้อมประดับพระเกียรติยศแห่งพระมหากษัตริยาธิราชพระองค์นั้นอันเหนือยิ่งกว่าเพชรอันได้ชื่อว่ารัตนะทั้งปวง คือพระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถิตเป็นเพชรอันยอดค่ายิ่งในดวงใจราษฏร์ ทรงบำบัดทุกข์ผดุงสุขเป็นที่พึ่งอันเกษมสุขร่มเย็นแก่ปวงพสกนิกร ซึ่งต่างเชื้อชาติศาสนาในพระราชอาณาจักรของพระองค์ 

     

เข็มกลัดที่ระลึก เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙



ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ 
          เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินโครงการจัดทำเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
 
          ๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ
 ๖๐ ปี 
          ๒. เพื่อให้ประชาชนร่วมกับรัฐบาล น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดี
 
          ๓. เพื่อนำรายได้ทูลเกล้าฯถวายโดยเสด็จพระราชกุศลทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย